กระทรวงมหาดไทยได้อนุมัติให้จัดตั้งวิทยาลัยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเพื่อให้เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาบุคคลากรที่รับผิดชอบด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติของประเทศ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2547 และได้เริ่มดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2547 เป็นต้นมา

ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 ได้มีการจัดตั้งวิทยาเขต ในสังกัดวิทยาลัยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยใน 6 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ พิษณุโลก สงขลา ภูเก็ต ปราจีนบุรี และขอนแก่น เพื่อเป็นศูนย์กลางในการดำเนินการฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการบริการจัดการสาธารณภัยไปสู่กลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชน

ตามประกาศกฏกระทรวงแบ่งส่วนราชการ ปภ. พ.ศ.2557 เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2557 ได้มีการจัดตั้งสถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และวิทยาเขต เพิ่มขึ้นอีก 2 แห่ง ได้แต่ วิทยาเขตปทุมธานีและวิทยาเขตประจวบขีรีขันธ์ ( สถาบันกู้ภัยทางทะเล )

“มุ่งพัฒนาทรัพยากร และองค์ความรู้ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ด้วยความร่วมมือของประชารัฐ สู่มาตรฐานสากล ภายในปี พ.ศ.2569”

คำนิยามของวิสัยทัศน์

“การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์” หมายถึง การพัฒนาด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแก่บุคลากรภายในกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในทุกระดับ ผู้รับบริการทางวิชาการ และ/หรือหน่วยอบรม และ/หรือเครือขายภายในประเทศและระหว่างที่มาขอรับบริการทางวิชาการด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

“องค์ความรู้” หมายถึง ผลผลิตและ/หรือบริการทางวิชาการที่เกิดจากปฏิบัติงานตามภารกิจของสถาบันฯ เช่น วิทยากร หลักสูตร สื่อการเรียนการสอน วัสดุอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน มาตรฐานวิชาชีพ การออกใบประกอบวิชาชีพ การขึ้นทะเบียนหน่วยงานอบรมหรือการับรองมาตรฐาน คู่มือ แนวทางการปฏิบัติ มาตรการ บทความ งานวิจัย นวัตกรรม และวารสาร เป็นต้น

สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

  1. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาองค์ความรู้และยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการด้านสาธารณภัย
  2. พัฒนา ฝึกฝน และสนับสนุนการฝึกอบรม การฝึกซ้อม และการปฎิบัติให้แก่ บุคลากรของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน เพื่อสร้างความรู้และเตรียมความพร้อม ในการบริหารจัดการด้านสาธารณภัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  3. ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมและพัฒนาข้าราชการของกรม
  4. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย